เจ้าถิ่น ออกมาแหวกไหว้โชว์ตัวทักทายนักท่องเที่ยวฉลามวาฬ ต้อนรับนักดำน้ำ

 ชุมพร – เจ้าถิ่น ออกมาแหวกไหว้โชว์ตัวทักทายนักท่องเที่ยวฉลามวาฬ ต้อนรับนักดำน้ำ

วันที่ 2 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงาน นักท่องเที่ยวเดินทางมาดำน้ำดูปะการังทะเลชุมพรพบเจ้าถิ่นฉลามวาฬออกมาต้อนรับ จากกรณีวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เวลา 14.30 น นักท่องเที่ยว ทริป ดำน้ำชมปะการังและทุ่งดอกไม้ทะเล

เรือของ บางเบิดทัวร์ ดำน้ำเกาะร้านเป็ดร้านไก่ เดินทางด้วย เรือ สปีดโบ๊ท ที่เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ อ.ปะทิว จ. ชุมพร


เพื่อดูโลกใต้น้ำที่เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ ในวันนี้โชคดี ฉลามวาฬออกมาแหวกไหว้โชว์ตัวทักทายนักท่องเที่ยว ฉลามวาฬ ออกมาต้อนรับนักดำน้ำ สร้างความประทัพใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยงที่จังหวัดชุมพร เป็นอย่างมาก

     ชุมพร มีของดีที่ซุกซ่อนอยู่ในทะเล มีสิ่งล้ำค่าที่เหล่านักดำน้ำหลายคนอาจจะยังไม่เคยพบเจอและครั้งหนึ่งในชีวิตการดำ น้ำขอให้ได้เจอ นั่นคือ “เจ้าฉลามวาฬ” หรือ ชาวบ้านเรียกว่า ปลาจุด ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลจังหวัดชุมพร ซึ่งทะเลชุมพรเป็นเหมือนบ้านของเจ้าฉลามวาฬ นอกจากจะมีเจ้าฉลามวาฬแล้ว ทะเลชุมพรยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ภูเขาดอกไม้ทะเลบ้านของเจ้าปลานีโม่ แต่ปลานีโม่ฝั่งอ่าวไทย จะเป็นสายพันธุ์อินเดียนแดงชมพู ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับนี่โม่ฝั่งอันดามัน และคนละสายพันธุ์กับการ์ตูนเรื่องนีโม่ นอกจากนี้มีฝูงปลาสาก ฝูงปลาซีกุน ปลาข้างเหลือง ฝูงปลาหูช้าง และนูดี้ หรือทากทะเลสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย

  ชุมพร สามารถดำน้ำได้ ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ. - ก.ย. ตลอดปี (เป็นช่วงที่ทะเลฝั่งอันดามันปิด)ถ้าอยากดำน้ำและเผื่อโชค ดีได้เจอฉลามวาฬ ก็ขอแนะนำให้ไป อ.ปะทิว จ.ชุมพร โดยเกาะที่มักพบเจ้าฉลามวาฬ ได้แก่ เกาะร้านเป็ด เกาะร้าน ไก่ เกาะง่ามใหญ่ เกาะง่ามน้อย เรือปราบ 741 หินแพ กองหินสามเหลี่ยม และเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี



    ขอแนะนำเจ้าฉลามวาฬ หรือ ปลาจุด ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลชุมพร ว่ากันว่าเจ้าฉลามวาฬอยู่ที่เกาะร้านเป็ด เกาะร้าน ไก่ โดยจะว่ายวนไปมาตามเกาะต่าง ๆ จุดที่สามารถพบเห็นเจ้าฉลามวาฬได้ก็จะมีที่เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ เกาะ เวียง เกาะง่าม จุดดำน้ำลึกเรือปราบ 741 จุดดำน้ำลึกกองหินสามเหลี่ยม และจุดดำน้ำหินแพ อำเภอปะทิว จังหวัด ชุมพร โดยเจ้าฉลามวาฬจะว่ายวนไปมาหาอาหารตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งอาหารของมันก็คือ แพลนตอน นั่นเอง


    แนะนำการดำน้ำที่ชุมพร มี 2 แบบ คือ ดำน้ำลึก (Scuba) และ ดำน้ำตื้น (Snorkeling) ซึ่งการจะพบเจ้าฉลามวาฬนั้น ไม่จำเป็นต้องดำน้ำลึกอย่างเดียว เพราะเจ้าฉลามวาฬมักจะขึ้นมากินแพลงตอนบริเวณผิวน้ำ ทำให้คนที่ดำน้ำตื้น หรือ พวก Snorkeling สามารถพบเจอเจ้าฉลามวาฬได้เช่นกัน 

     วิธีดำน้ำที่ถูกต้องเมื่อเจอฉลามวาฬ ห้ามเอามือ เท้า ทุกส่วนของร่างกายไปสัมผัสเจ้าฉลามวาฬ เพราะมือของเรามีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อผิวของฉลามวาฬ อาจทำให้น้องป่วยได้ เมื่อเจอฉลามวาฬ เราควรดำน้ำห่างจากบริเวณส่วนหัวของฉลามวาฬ 2 เมตร และบริเวณด้านข้างตลอดจนบริเวณหาง 3 เมตร เพื่อป้องกันการสัมผัสถูกเจ้าฉลามวาฬและเพื่อป้องกันอันตรายจากหางของเจ้าฉลามวาฬที่อาจจะฟาดมาโดนเราได้ เมื่อเจอฉลามวาฬและอยากถ่ายรูป เราไม่ควรเปิดแฟลตหรือใช้ไฟฉายส่องไปที่ดองตาของเจ้าฉลามวาฬ เพราะแสงไฟและแสงแฟลตอาจจะทำให้ตาของเจ้าฉลามวาฬบอดหรือมีปัญหาได้

ธนากร โกศลเมธี/รายงาน 


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น