ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ จัดประกวดเมนูอาหารโครงการเฟ้นหาเมนูสุดว้าวจากทะเล มนต์เสน่ห์ ข้าวหอมหัวบอน

 #ข่าวกระบี่ : ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ จัดประกวดเมนูอาหารโครงการเฟ้นหาเมนูสุดว้าวจากทะเล มนต์เสน่ห์ ข้าวหอมหัวบอน ในงานเกษตรแฟร์ และ OTOP จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 12


วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายอังกูร ศิลาเทวกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ มอบหมาย ให้นาย นิรันดร์ ปราบอักษร ปลัดจังหวัดกระบี่ เป็นประธาน เปิดการประกวดเมนูอาหาร โครงการเฟ้นหาเมนูสุดว้าวจากทะเล มนต์เสน่ห์ข้าวหอมหัวบอน ซึ่งศูนย์วิจัยข้าวกระบี่จัดขึ้น ในงานเกษตรแฟร์ และ OTOP จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 12 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรให้กับประชาชน


เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพื้นเมือง ภายใต้โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวพื้นเมืองภาคใต้ ให้ได้มาตรฐานและเชื่อมโยงตลาดภายใต้ระบบเศรษฐกิจ BCG โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาชีพข้าวไร่พัฒนา ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปลูกข้าวหัวหัวบอน 35 การส่งเสริมการบริโภคข้าวพันธุ์พื้นเมือง ผ่านเมนูอาหารที่สร้างสรรค์จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนได้เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อกระตุ้นเกษตรกรให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการผลิตข้าวปลอดภัย ในการนี้ ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ได้จัดประกวดเมนูอาหารสุดว้าวจากทะเล มนต์เสน่ห์ ข้าวหอมหัวบอน ขึ้น มีผู้เข้าร่วมประกวด 9 ทีม ใช้เวลา 40 นาทีในการปรุงเมนูอาหารต่าง ๆ จากทะเลและอื่นๆ เพื่อรับประทานกับข้าวหอมหัวบอน พร้อมให้มีการนำเสนอแนวคิดที่มาของเมนูอาหารต่อหน้ากรรมการตัดสินทีมละ 5 นาทีด้วย

ผลการตัดสินของคณะกรรมการ ปรากฎว่ารางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสามแม่ครัว F&N จากวิทยาลัยเทคกระบี่.ชื่อเมนู..หมกโรลหอมหัวบอน รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมข้าวมันทะล เมนูข้าวมันทะเล และรองชนะลิศอันดับ 2 ทีมสาวน้อยปันสุข เมนูแกงส้ม+หมูหวาน ทั้งสามทีมได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร ในพิธีเปิดงาน ณ เวทีกลางของงาน

นายกฤษณะ. ศิริรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ กล่าวว่า ข้าวไร่หอมหัวบอน เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองจังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 3,000 ไร่ ปลูกมากที่สุดในพื้นที่อำเภอเขาพนม ขณะหุงข้าวจะได้กลิ่นโชยหอมเหมือนหัวบอน หรือหัวเผือก ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ของจังหวัดกระบี่



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น